ทรัพย์ดี พร็อพเพอร์ตี้
SUBD PROPERTY
ผลการค้นหา
พบ 11 รายการสำหรับ ""
- การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน
การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยปกติประชาชนทั่วไปสามารถขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ได้ ณ สำนักงานที่ดินท้องที่แต่หากต้องการคัด สำเนาบัญชี หรือรูปแผนที่ประกอบบัญชี หรือขอให้ออกหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินแปลงใด ผู้ขอจะต้องเป็นเจ้าของที่ดิน หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น โดยผู้ขอจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอคัดหรือขอรับรองราคาประเมินตามระเบียบ อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนทั่วไปซึ่งมีความประสงค์เพียงเพื่อขอดูหรือขอทราบราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินโดยไม่มีการขอคัดสำเนาหรือขอให้ออกหนังสือรับรองก็อาจขอดูได้ที่สำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สิน (อาคารตลิ่งชัน) ซึ่งมีบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินทั่วประเทศไว้บริการ โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องเดินทางไปติดต่อที่สำนักงานที่ดินท้องที่ แต่การบริการดังกล่าวยังมีข้อจำกัดในเรื่องของที่ดินซึ่งตั้งอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครที่ใช้ราคาประเมินที่ดินแบบรายบล็อก เพราะหากผู้ขอไม่ทราบตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินที่แน่นอนว่าอยู่ในบล็อคใดและหน่วยใดแล้ว ก็จะไม่สามารถระบุได้ว่าที่ดินแปลงนั้นมีราคาประเมินทุนทรัพย์เท่าใด ฉะนั้นในกรณีนี้ ผู้ขอดูหรือขอทราบราคาประเมินจำเป็นจะต้องรู้ตำแหน่งที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้น ๆ เป็นอย่างดีด้วยจึงจะสามารถทราบราคาที่ดินที่ถูกต้องได้ หลักฐานที่จะต้องนำไปประกอบคำขอ 1. โฉนดที่ดิน, น.ส.3, น.ส.3ก, ฯลฯ หรือสำเนาเอกสารดังกล่าว (กรณีไม่สามารถนำมาได้) 2. บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ / บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอและผู้รับมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าว ในกรณีมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน /บัตรข้าราชการ /บัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจพร้อมสำเนาบัตรดังกล่าวที่รับรองสำเนาแล้วของผู้มอบอำนาจมาด้วย 3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอ ในกรณีมอบอำนาจต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจมาด้วย 4. หลักฐานของนิติบุคคล หรือหนังสือมอบอำนาจ ในกรณีไม่สามารถไปด้วยตนเอง ยื่นคำขอกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอ ที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ ค่าใช้จ่ายในการรับรองราคาประเมิน - ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท - ค่ารับรองฉบับละ 10 บาท - ค่าพยานคำขอเรื่องละ 20 บาท - ค่ามอบ (ถ้ามี) เรื่องละ 20 บาท บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- การรับมรดกที่ดิน, จดทะเบียนผู้จัดการมรดก
เมื่อเจ้าของที่ดินหรือผู้มีชื่อในเอกสารเกี่ยวกับที่ดิน ( เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส.๓ หรือ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข.) ตายลงไป ที่ดินแปลงนั้นก็จะเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตาย โดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรมมี ๖ ลำดับ แต่ละลำดับมีสิทธิ ได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้ ๑. ผู้สืบสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ) ๒. บิดา มารดา ๓. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๔. พี่น้องร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน ๕. ปู่ ย่า ตา ยาย ๖. ลุง ป้า น้า อา คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ถือเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมทั้ง ๖ ลำดับ โดยผู้มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินจะต้องไปขอจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินนั้นที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา ในกรณีมีเอกสารเป็นโฉนดที่ดิน น.ส. ๓ ข. และสำนักงานที่ดินอำเภอ ในกรณีมีเอกสารเป็น น.ส.๓, น.ส.๓ ก. ถ้าท้องที่ใดที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกเลิกอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอเกี่ยวกับการปฏิบัติการตามกฎหมายที่ดินแล้ว ไม่ว่าที่ดินจะเป็นโฉนดที่ดิน น.ส.๓ หรือ น.ส. ๓ ก.,น.ส.๓ ข. จะต้องไปขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสาขาที่ที่ดินตั้งอยู่ หลักฐานที่ต้องนำไปประกอบการขอรับมรดก คือ โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองทำประโยชน์ บัตรประจำตัว ทะเบียนบ้าน หลักฐานการตายของเจ้ามรดก เช่น มรณบัตร พินัยกรรม (ถ้ามี) ถ้าผู้ขอ ขอรับมรดกในฐานะเป็นคู่สมรส ต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ถ้าผู้ขอรับมรดกเป็นบิดาเจ้ามรดก ต้องมีทะเบียนสมรสกับมารดาของเจ้ามรดกหรือหลักฐานการรับรองบุตร กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้ขอรับมรดก ต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดไปแสดง ถ้ามีผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกันหลายคน บางคนได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว ต้องมีหลักฐานการตายของทายาทนั้น ๆ ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดก หลักฐานที่ต้องนำไป คือ คำสั่งศาลหรือคำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดก หลักฐานการตายของเจ้ามรดก ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดก โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท ค่าประกาศมรดก แปลงละ ๑๐ บาท ค่าจดทะเบียนผู้จัดการมรดก แปลงละ ๕๐ บาท ค่าจดทะเบียนโอนมรดก ร้อยละ ๒ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ในกรณีโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ ๐.๕ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้ #การรับมรดกที่ดิน #มรดกที่ดิน #มรดก
- ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร
ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร ?? "ที่สาธารณประโยชน์" หมายถึงที่ดินที่ทางราชการได้จัดให้หรือสงวนไว้เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันตามสภาพแห่งพื้นที่นั้น หรือที่ดินที่ประชาชนได้ใช้หรือเคยใช้ประโยชน์ร่วมกันมาก่อนไม่ว่าปัจจุบันจะยังใช้อยู่หรือเลิกใช้แล้วก็ตาม เช่น ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ ป่าช้าฝังและเผาศพ ห้วย หนอง ที่ชายตลิ่ง ทางหลวง ทะเลสาบเป็นต้น ตามกฎหมายถือว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ผู้ใดจะเข้ายึดถือครอบครองเพื่อประโยชน์แต่เฉพาะตนนั้นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่ระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้ หากฝ่าฝืนจะมีความผิดและได้รับโทษตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่นที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ พนักงานเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์ในที่สาธารณะเพื่อประโยชน์แห่งตนได้ ก็เฉพาะกรณีที่มีระเบียบและกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะเท่านั้นเช่น การอนุญาตขุดดินลูกรังหรือการอนุญาตดูดทราย เป็นต้น การรังวัดเพื่อออกหนังสือสำหรับที่หลวง มีวัตถุประสงค์พอสรุปได้ 5 ประการ คือ เพื่อกำหนดขอบเขตหรือแนวเขต ปักหลักเขตที่ดิน ปักหลักเขตที่สาธารณประโยชน์ และปักแผ่นป้ายชื่อที่สาธารณประโยชน์ เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้ง ขนาดรูปร่าง และเนื้อที่ดินที่ถูกต้องของที่สาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการบุกรุก เข้าทำประโยชน์โดยไม่ถูกกฎหมายและลดข้อพิพาทเรื่องแนวเขตที่ดิน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการคุ้มครอง และดูแลรักษาให้คงอยู่เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมตลอด โดยมุ่งหวังให้ประชาชนเกิดความสำนึกใน การช่วยดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงไว้เป็นหลักฐาน ประชาชนกับการมีส่วนร่วมในการรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง การรังวัดออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงให้ถูกต้อง ตามสภาพและขอบเขตที่แท้จริงตรงตามวัตถุประสงค์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนในท้องที่ ช่วยให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวกต่อการรังวัด ได้แก่ ระวังชี้แนวเขตที่ดินข้างเคียงที่มีแนวเขตติดต่อกับที่สาธารณประโยชน์อย่างถูกต้อง ไม่นำรังวัดรุกล้ำที่สาธารณประโยชน์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้ประโยชน์ ขอบเขต และแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ที่ถูกต้องและข้อมูลเกี่ยวกับการบุกรุกเข้าทำประโยชน์ หรือการลุกล้ำแนวเขตที่สาธารณประโยชน์ สอดส่องดูแลไม่ให้เกิดการทุจริต เพื่อหาประโยชน์จากที่สาธารณประโยชน์ของเจ้าหน้าที่หรือผู้ไม่หวังดี ให้ข้อคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการป้องกันดูแลรักษา และยุติข้อพิพาทต่าง ๆ ตามโอกาสและความเหมาะสม บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง
มารู้จักเอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" กันดีกว่า เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน มีอยู่หลายประเภทที่ควรรู้ และที่สำคัญ แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) คือใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ (แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.๑ อีกแล้ว) ส.ค.๑ ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น ดังนั้นตามกฎหมาย ที่ดินที่มี ส.ค.๑ จึงทำการโอนกันได้เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองและไม่ยึดถือพร้อมส่งมอบให้ผู้รับโอนไปเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นการโอนกันโดยชอบแล้ว ผู้มี ส.ค.๑ มีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) ได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ ๑ นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ กรณีนี้ทางราชการจะเป็นผู้ออกให้เป็นท้องที่ไป โดยจะมีการประกาศให้ทราบก่อนล่วงหน้า กรณีที่ ๒ นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) เฉพาะราย คือกรณีที่เจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ให้ไปยืนคำขอ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เฉพาะการออกโฉนดที่ดินนี้ จะออกได้ในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่สำหรับออกโฉนดที่ดินไว้แล้วเท่านั้น -------------------------------------------------------------------------------- ใบจอง (น.ส. ๒) ใบจอง คือหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราว ๆ ในแต่ละท้องที่และผู้ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ ผู้มีใบจองจะต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน ๖ เดือนต้องทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับใบจองและจะต้องทำประโยชน์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ ๗๕ ของที่ดินที่จัดให้ ที่ดินที่มีใบจองนี้จะโอนให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดทางมรดก เมื่อทำประโยชน์ตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็มีสิทธินำใบจองนั้นมาขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข) หรือโฉนดที่ดินได้แต่หนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือโฉนดที่ดินนั้นจะต้องตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด -------------------------------------------------------------------------------- หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. และ น.ส.๓ ข) หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. และ น.ส.๓ ข) หมายความว่าหนังสือรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าได้ทำประโยชน์ในที่ดินแล้ว น.ส. ๓ ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่ว ๆ ไป ในพื้นที่ที่ไม่มีระวาง มีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอย ไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ซึ่งรัฐมนตรียังไม่ได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออก) น.ส. ๓ ก. ออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ โดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ (นายอำเภอท้องที่เป็นผู้ออกให้) น.ส. ๓ ข. ออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ และรัฐมนตรีได้ประกาศยกเลิกอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดินของหัวหน้าเขต นายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแล้ว (เจ้าพนักงานที่ดิน เป็นผู้ออก) -------------------------------------------------------------------------------- ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ใบไต่สวน คือหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ แต่สามารถจดทะเบียนโอนให้กันได้ ถ้าที่ดินมีใบไต่สวนและมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์แสดงว่าที่ดินนั้นนายอำเภอได้รับรองการทำประโยชน์แล้ว เมื่อจดทะเบียนโอนจะต้องจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อน แล้วจึงมาจดแจ้งหลังใบไต่สวน แต่ถ้าใบไต่สวนมีแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) หรือไม่มีหลักฐานที่ดินใด ๆ และเป็นที่ดินที่นายอำเภอยังไม่รับรองการทำประโยชน์ จะจดทะเบียนโอนกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นการจดทะเบียนโอนมรดก -------------------------------------------------------------------------------- โฉนดที่ดิน โฉนดที่ดิน คือหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฎหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์เช่น มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดิน มีสิทธิจำหน่าย มีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้ใดเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย -------------------------------------------------------------------------------- ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน ทำให้ผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักฐาน ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักกรรมสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของตนทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกัน ทำให้รู้ตำแหน่งแหล่งที่ตั้ง ตลอดจนขอบเขตและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแต่ละแปลงได้ถูกต้อง ทำให้สามารถป้องกันการบุกรุกขยายเขตครอบครองเข้าไปในที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่สงวนหวงห้าม ที่สาธารณประโยชน์ และที่ดินที่ทางราชการได้กันไว้เป็นเขตป่าไม้ ทำให้สามารถระงับการทะเลาะวิวาท การโต้แย้ง หรือแย่งสิทธิในที่ดินหรือการรุกล้ำแนวเขตที่ดินซึ่งกันและกัน ทำให้ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทางเศรษฐกิจ มีความมั่นคงและมีผลเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย ทำให้เกิดความรักและความห่วงแหนที่ดินของตน มีแรงจูงใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้เป็นหลักฐานแสดงทุนทรัพย์หรือหลักประกันในการขอสินเชื่อ และกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ฯลฯ การตรวจสอบหลักฐานสำหรับที่ดิน สำหรับที่ดินที่เป็นโฉนดกระทำได้โดยสะดวกรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ประสงค์จะจำหน่าย จ่าย โอน เนื่องจากการโอนที่ดินที่มีโฉนดที่ดินไม่ต้องประกาศ เว้นแต่มรดก การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน หรือมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินไปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ขายฝาก ฯลฯ จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทีดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข) จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้น จึงจะมีผลตามกฎหมาย เว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ -------------------------------------------------------------------------------- คำเตือน เอกสารสำคัญทั้งหมดนี้แม้จะแสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นแล้วก็ตาม ถ้าหากท่านปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน กล่าวคือ ถ้าเป็นที่ดินที่โฉนดที่ดิน ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 10 ปี และที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน ๕ ปีติดต่อกัน ที่ดินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของรัฐตามกฎหมาย หรือถ้าหากปล่อยให้บุคคลอื่นครอบครองโดยสงบเปิดเผย โดยมีเจตนาเอาเป็นเจ้าของโดยท่านไม่เข้าขัดขวาง สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเป็นเวลา ๑๐ ปีติดต่อกันบุคคลที่เข้าครอบครองนั้นก็จะมีสิทธิไปดำเนินคดีทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองได้ และที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข) ใช้เวลาแย่งการครอบครองเพียง ๑ ปีเท่านั้น ท่านก็จะเสียสิทธิ ดังนั้นเมื่อที่ดินของท่านมีเอกสารสำคัญดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ควรทำประโยชน์และดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินก็จะเป็นของท่าน และเป็นมรดกที่มีค่าให้แก่ทายาทของท่านต่อไป บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- โฉนดที่ดิน คืออะไร
โฉนดที่ดิน คือ หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ ตามประมวลกฎหมายที่ดินปัจจุบัน นอกจากนี้ยังรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ตราว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ ตามกฎหมายเก่า แต่ก็ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน ผู้เป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน ถือว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์ เช่น มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดิน มีสิทธิจำหน่าย มีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้ใด เข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน ทำให้ผู้ถือครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักฐาน ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักกรรมสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของตนทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกัน ทำให้รู้ตำแหน่งแหล่งที่ตั้ง ตลอดจนขอบเขตและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแต่ละแปลงได้ถูกต้อง ทำให้สามารถป้องกันการบุกรุกขยายเขตครอบครองเข้าไปในที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่สงวนหวงห้าม ที่สาธารณประโยชน์และที่ดินที่ทางราชการได้กันไว้เป็นเขตป่าไม้ ทำให้สามารถระงับการทะเลาะวิวาท การโต้แย้งหรือแย่งสิทธิในที่ดินหรือการรุกล้ำแนวเขตที่ดินซึ่งกันและกัน ทำให้ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทางเศรษฐกิจมีความมั่นคงและมีผลเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย ทำให้เกิดความรักและหวงแหนที่ดินของตน มีแรงจูงใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้เป็นหลักฐานแสดงทุนทรัพย์หรือหลักประกันในการขอสินเชื่อและกู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการเพิ่มกำลังการผสิตและรายได้พื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการหรือศาล ฯลฯ การตรวจสอบหลักฐานสำหรับที่ดิน สำหรับที่ดินที่เป็นโฉนดกระทำได้โดยสะดวกรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ประสงค์จะจำหน่ายจ่าย โอน เนื่องจากการโอนที่ดินที่มีโฉนดที่ดินไม่ต้องประกาศ เว้นแต่เป็นการโอนมรดก การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีโฉนดที่ดิน เช่น การนำที่ดินปซื้อขาย ยกให้ แลกเปลี่ยน จำนอง ขายฝาก ฯลฯ จะต้องนำไป จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส. ๓ น.ส. ๓ ก. หรือ น.ส.๓ ข.) จะต้องนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินอำเภอที่ที่ดินตั้งอยู่ การทำนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมายเว้นแต่ได้ยกเลิกอำนาจนายอำเภอเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จะต้องไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่ บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- การจดจำนอง VS การรับขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร?
การนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการรับจดจำนอง ขายฝาก เพราะดูเหมือนว่านิติกรรมทั้งจำนอง ขายฝากนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน สำหรับบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความแตกต่างระหว่างนิติกรรมจำนอง ขายฝาก ที่มักจะพบเห็นได้ในการขอสินเชื่อหรือกู้ยืมเงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ถึงแม้จะดูคล้ายกันในสายตาคนทั่วไป แต่ที่จริงแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิงในทางกฎหมาย การจดจำนองคืออะไร? การจำนอง คือ การทำนิติกรรมรูปแบบหนึ่งที่นำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำมารับจดจำนอง ขายฝากเป็นได้ทั้งทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น โดยในการจำนองทรัพย์สินทุกประเภทจะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจดจำนอง ขายฝากมีสิทธิ์ฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่รับจดจำนอง ทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนอง เป็นได้ทั้งทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น ลักษณะสัญญาการจำนอง ผู้จำนองไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือผู้รับจดจำนอง กรณีทำผิดสัญญาจำนอง หากครบสัญญาแล้ว ผู้จดจำนอง สามารถจ่ายดอกเบี้ยเพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจดจำนอง จะฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่ดำเนินการฟ้องร้อง ทรัพย์สินนั้นจะไม่สามารถนำมาขายได้ ค่าจดทะเบียนจำนอง เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท วงเงินในการอนุมัติการจำนอง จะได้วงเงินต่ำกว่าการขายฝาก ส่วนอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับอัตราของแต่ละสถาบัน ขายฝากคืออะไร การขายฝาก คือ การทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากและมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากสามารถขยายเวลาขายฝากกับผู้ซื้อฝากกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจก่อน การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิ์ไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิ์ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาขายฝากอีก ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่รับขายฝาก ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ลักษณะสัญญาการขายฝาก ผู้ขายฝากต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือผู้รับซื้อฝาก กรณีทำผิดสัญญาขายฝาก ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ถอนสินทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลาสามารถขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี ตามกฎหมาย สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่หากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับขายฝากทันที ค่าจดทะเบียนขายฝาก เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด วงเงินในการอนุมัติการขายฝาก จะได้วงเงินสูงกว่าการจำนอง และดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีตามที่กฎหมายกำหนด ข้อแตกต่างระหว่างรับจดจำนองและรับขายฝาก สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการรับจำนอง ขายฝาก บ้าน บริการรับจำนอง ขายฝาก ที่ดิน บริการรับจำนอง ขายฝาก คอนโด หรือบริการรับจำนองขายฝาก บ้าน และ ที่ดิน ควรศึกษาความแตกต่างระหว่างการจำนอง ขายฝากก่อนตัดสินใจ ดังนี้ บทความข้างต้นนี้ คงจะทำให้ท่านได้เห็น ข้อแตกต่างระหว่างการจำนอง ขายฝากไปแล้ว ต่อไปนี้ใครที่มีความจำเป็นต้องทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบทั้งบริการรับจำนอง ขายฝาก บ้าน บริการรับจำนอง ขายฝาก ที่ดิน บริการรับจำนอง ขายฝาก คอนโด หรือบริการรับจำนองขายฝาก บ้าน และ ที่ดิน ก็คงสามารถพิจารณาจุดเด่น จุดด้อย และเลือกใช้บริการรับจดจำนอง ขายฝากได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ควรเลือกนายทุนหรือบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพื่อป้องกันสิทธิประโยชน์ของตนเองอีกด้วย ปรึกษากับทีมงานมืออาชีพได้ที่ SUBD PROPERTY (ทรัพย์ดี พร๊อพเพอร์ตี้) แหล่งเงินทุน เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินทุน ถูกต้องตามกฎหมาย อนุมัติไว ให้ยอดสูง ดอกเบี้ยต่ำ บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- ข้อดีของการขายฝากที่ดิน ของผู้ขายฝากและนักลงทุน
จากหลายๆบทความทำให้เราเข้าใจกันดีแล้วว่า ขายฝากคืออะไร ในวันนี้เราจะมาพูดสรุปถึงข้อดีของการขายฝากกัน ทั้งของผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก ข้อดีของการขายฝากฝั่งผู้ขายฝาก (ผู้กู้) การทำสัญญาขายฝากที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิสต์ หรือเครติดบูโรของผู้กู้ ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน, ไม่ดูการเดินบัญชี statement ของธนาคาร อนุมัติเร็ว ได้เงินไว เร็วกว่าการขอสินเชื่อกับธนาคารต่างๆ การขายฝากมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเพราะมีการทำสัญญา ณ กรมที่ดินระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก การขายฝากส่วนมากนั้นผู้ให้กู้จะให้วงเงินสูงกว่าการกู้รูปแบบอื่น ซึ่งผู้ให้กู้บางรายอาจให้มากถึง 60-70% ของราคาประเมิน การขายฝากมีระยะเวลาในการไถ่ถอนที่ยืดหยุ่น โดยผู้ทำการขายฝากสามารถยืดระยะเวลาในการไถ่ถอนได้ แต่ต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ สมมุติถ้าตกลงกับเจ้าหนี้ไว้ว่าจะมาไถ่ทรัพย์คืนภายใน 1 ปี หากถึงเวลาแล้วยังไม่พร้อมก็สามารถยืดเวลาออกไปได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อฝากและต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าพ้นกำหนดไถ่ถอน ข้อดีของการขายฝากฝั่งผู้รับซื้อฝาก (นักลงทุน) ได้ผลตอบแทนสูง และกำไรส่วนต่างจากการขายทรัพย์ (กรณีทรัพย์หลุดไถ่ถอน) ความเสี่ยงต่ำเพราะมีหลักประกัน ไม่ต้องฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์ ธุรกรรมทำง่าย และปลอดภัย เพราะต้องจดทะเบียนที่กรมที่ดิน เป็นช่องทางการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาถูก ถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิ่งสำคัญในกระบวนการขายฝากที่ดินก็คือเรื่องของการทำ สัญญาขายฝาก ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน และพนักงานเจ้าหน้าที่จะระบุไว้ในสารบัญสำหรับจดทะเบียนว่า เป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย จากข้อดีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการขายฝากนั้นมีข้อดีที่ความสะดวก รวดเร็ว และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ ถึงแม้จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารเล็กน้อย แต่สามารถรับเงินได้เร็วกว่าและอนุมัติการกู้เงินได้โดยไม่ต้องดู STATEMENT การเดินบัญชี รวมทั้งคนที่ติดแบล็คลิสต์หรือเครดิตบูโรก็สามารถที่จะขอยื่นกู้ได้ เพราะเนื่องจากผู้รับซื้อฝากจะดูที่ทรัพย์หรือโฉนดเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันฝั่งผู้ซื้อฝากก็ได้รับผลประโยชน์จากผลตอบแทนที่มากกว่าและมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ข้อมูลอ้างอิง: dol.go.th บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- ขายฝากคืออะไร?
ขายฝาก เป็นสัญญาซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ (ความเป็นเจ้าของ) ในทรัพย์สิน จะกลายเป็นของผู้ซื้อฝากทันที เหมือนสัญญาซื้อขายทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่ ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้น คืนไปได้ตามสัญญาที่ได้ทำกันไว้ ซึ่ง จุดเด่น ของ การขายฝาก ก็คือ สิทธ์การถือครอง ที่เราสามารถไถ่ถอนกลับมาเป็นของเราได้ (ในระยะเวลากำหนดของสัญญา) แม้ว่าจะขายฝากไปแล้ว เมื่อเทียบกับการขายขาดที่เป็นการเปลี่ยนผู้ถือครองถาวร ที่สำคัญคือวงเงินที่เหมาะสม ทำให้หาผู้ซื้อฝากได้ง่าย และไม่ต้องใช้จ่ายในการทำโฆษณา ลงประกาศขายอีกด้วย ขั้นตอนของสัญญาขายทั่วไป 1. ประกาศขาย ตั้งราคาขายที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดให้ผู้ซื้อสนใจ 2. แลกเปลี่ยน ผู้ขายจะได้เงิน ส่วนผู้ซื้อจะได้รับโฉนด ทำสัญญาที่กรมที่ดิน และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นๆ ขั้นตอนของสัญญาขายฝาก 1.ประกาศขายฝาก ผู้ต้องการขายฝาก ระบุระยะเวลาสัญญาที่จะไถ่ถอน เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจกับผู้ซื้อฝาก 2.แลกเปลี่ยน ผู้ขายฝากจะได้รับเงินสดทันทีหลังทำสัญญาที่กรมที่ดิน ส่วนผู้ซื้อฝากจะได้รับโฉนดค้ำประกัน 3.เมื่อครบกำหนดสัญญา ผู้ขายฝากจะต้องนำเงินมาไถ่ถอนที่ดินคืน+ดอกเบี้ย ส่วนผู้ซื้อฝากก็จะคืนโฉนด เป็นอันเรียบร้อย ในกรณีที่ครบกำหนดสัญญาแล้วผู้ขายฝากไม่สามารถนำเงินมาไถ่ถอนได้ สามารถต่อสัญญาขายฝากได้ ** (ขึ้นอยู่กับการทำข้อตกลงกันระหว่างผู้ซื้อฝาก และผู้ขายฝาก) *** แต่ถ้าหากไม่ต่อสัญญาแล้วไม่ไถ่ถอน ทางผู้ซื้อฝากก็มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ชิ้นนั้นทันที *** บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน (จำนอง/ขายฝาก/มรดก)
ขั้นตอนการจดทะเบียน ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ขาย, ขายฝาก, ให้, จำนอง) ขั้นตอนการขอรับมรดก (กรณีต้องประกาศ เช่น ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม) ขั้นตอนการขอรับมรดก (กรณีไม่ต้องประกาศ เช่น ศาลตั้งผู้จัดการมรดก) ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ขาย, ขายฝาก, ให้, จำนอง) ประชาสัมพันธ์ - รับบัตรคิว รับคำขอและสอบสวน ตรวจสอบสารบบและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ลงบัญชีรับทำการ ตรวจอายัด ประเมินทุนทรัพย์ เขียนใบสั่ง, ใบเสร็จ และรับเงินค่าธรรมเนียม ภาษีและอากร(ถ้ามี) พิมพ์สัญญาและแก้สารบัญจดทะเบียน คู่กรณีลงนามในสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนและประทับตรา แจกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและสัญญา ขั้นตอนการขอรับมรดก (กรณีต้องประกาศ เช่น ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม) ประชาสัมพันธ์ - จ่ายบัตรคิว รับคำขอและสอบสวน ตรวจสอบสารบบและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ลงบัญชีรับทำการ ตรวจอายัด เขียนใบสั่ง, ใบเสร็จ และรับเงินค่าธรรมเนียมคำขอ ทำการประกาศมรดก มีกำหนด 30 วัน เจ้าหน้าที่พิมพ์ประกาศ ส่งประกาศไปปิดตามสถานที่ ๆ กฎหมายกำหนด ได้แก่ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ สำนักงานเทศบาล ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่และบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือส่งประกาศไปให้บุคคลที่ผู้ขอแจ้งว่าเป็นทายาททุกคนทราบเท่าที่จะทำได้ ประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน ทำหนังสือแจ้งผู้ขอมาดำเนินการเพื่อจดทะเบียน ตรวจอายัด เสนอเจ้าพนักงานที่ดิน สั่งจดทะเบียนผู้จัดการมรดกและโอนมรดก ประเมินทุนทรัพย์ เขียนใบสั่ง, ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียม แก้สารบัญจดทะเบียน เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนและประทับตรา แจกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ขั้นตอนการขอรับมรดก (กรณีไม่ต้องประกาศ เช่น ศาลตั้งผู้จัดการมรดก) ประชาสัมพันธ์ - จ่ายบัตรคิว รับคำขอและสอบสวน ตรวจสอบสารบบและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ลงบัญชีรับทำการ ตรวจอายัด เสนอเจ้าพนักงานที่ดิน สั่งจดทะเบียนผู้จัดการมรดกและโอนมรดก ประเมินราคาทุนทรัพย์ เขียนใบสั่ง ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียม แก้สารบัญจดทะเบียน เจ้าพนักงานที่ดินลงนามจดทะเบียนและประทับตรา แจกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ ขายฝากคืออะไร การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- การมอบอำนาจ
การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน และการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง การมอบอำนาจให้ทำกิจการใด ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือการมอบอำนาจให้ทำกิจการนั้น ก็ต้องทำเป็นหนังสือ เช่น การซื้อขายที่ดินกฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นการมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย โดยจะใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน แต่เพื่อความสะดวก ควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินโดยผู้นั้นจะต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ไปทำการแทน และควรมอบบัตรประจำตัวของผู้มอบให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าของที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจะต้องระมัดระวัง หรือกระทำ การให้รัดกุม รอบคอบอาจเกิดการฉ้อโกงหรือได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงได้ จึงขอให้ผู้มอบได้ปฏิบัติตามคำเตือนหลังใบมอบอำนาจโดยเคร่งครัด หนังสือมอบอำนาจควรใช้ตามแบบของกรมที่ดิน ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ สำหรับที่ดินมีโฉนดแล้วแบบหนึ่งกับที่ดินที่ยังไม่มีโฉนดอีกแบบหนึ่ง หากจะใช้กระดาษอื่นควรเขียนข้อความอนุโลมตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดิน เพราะจะได้รายการที่ชัดเจนและถูกต้อง คำเตือน เพื่อรักษาประโยชน์ของเจ้าของที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้อง 1. ให้กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก,บ้านเรือน,โรง,ให้ชัดเจน 2. ให้ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย 3. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน 4. ถ้ามีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง 5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด 6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อจะพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้ ถ้าภรรยาเป็นผู้รับมอบอำนาจต้องให้สามีลงชื่อเป็นพยานและให้บันทึกความยินยอมเป็นหนังสือด้วย 7. หนังสือมอบอำนาจทำในต่างประเทศควรให้สถานทูตหรือสถานกงสุลหรือโนตารีปัปลิครับรองด้วย บางเรื่องผู้มอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจจากทั้งสองฝ่ายคือเป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอนในกรณีเช่นนี้ผู้ มอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็นผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย (มาตรา 805 แห่ง ป.พ.พ.) ในส่วนผู้รับซื้อหรือผู้รับสิทธิในนิติกรรมมีหน้าที่ระมัดระวังด้วยโดยจะต้องรู้จักตัวเจ้าของที่ดินที่แท้จริง เพราะจะซื้อที่ดินทั้งที่เงินก็มาก ต้องรู้จักเจ้าของที่ดินว่ามีตัวตนหรือไม่มีชีวิตอยู่หรือไม่ มีเจตนาจะขายที่ดินจริงหรือไม่หากไม่รู้จักเจ้าของที่ดินที่แท้จริงเสียเลยย่อมเป็นการผิดวิสัย ถ้าไม่แน่ใจก็อาจขอตรวจดูหลักฐานที่ดินที่สำนักงานที่ดินก่อนได้ จึงขอให้ผู้รับโอนได้ใช้ความระมัดระวังเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตนเอง บทความที่เกี่ยวข้อง การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้
- หลักเกณฑ์การตรวจสอบก่อนซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม
ปัจจุบัน คอนโดมิเนียมหรืออาคารชุดกลายเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะตอบโจทย์ ไลฟ์สไตล์ สมัยใหม่ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ เช่น ทำเลดี ใกล้ที่ทำงานติดรถไฟฟ้า ใกล้ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มีสระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องชุดมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ดี สะดวกสบาย ปลอดภัยจากพื้นที่น้ำท่วม ผู้ซื้อจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจเลือกซื้อห้องชุด การซื้อห้องชุดในปัจจุบันจะมี 2 ลักษณะ คือ ซื้อจากโครงการโดยตรง และซื้อห้องชุดมือสอง ต่อจากบุคคลอื่น การซื้อจากโครงการโดยตรง จะมี 2 กรณี คือ กรณีอาคารชุดที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง และกรณีที่ ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว กรณีอาคารชุดที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ผู้ซื้อ ควรพิจารณาข้อมูลเบื้องต้น ดังต่อไปนี้ 1. โครงการมีใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือไม่ โดยสามารถตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด 2. ผู้ประกอบการเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือไม่ และที่ดินแปลงที่จะก่อสร้างอาคารชุดต้องมีหลักฐาน เป็นโฉนดที่ดินเท่านั้น นอกจากนี้ ถ้าที่ดินมีภาระผูกพันอย่างอื่น จะไม่สามารถจดทะเบียนอาคารชุดได้ยกเว้น เรื่องการจำนอง 3. ดูแผนผังแสดงแนวเขตที่ดินที่ตั้งอาคาร ว่ามีทางเข้าออกหรือไม่ และทางเข้าออกนั้น เป็นทางสาธารณะหรือทางส่วนบุคคลถ้าเป็นทางส่วนบุคคล ต้องตรวจสอบว่า เจ้าของที่ดินได้มีการจดทะเบียน ภาระจำยอมให้สามารถใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกอาคารไว้เรียบร้อยแล้วหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีปัญหาตามมา ในภายหลัง 4. เก็บเอกสารการโฆษณาหรือโบรชัวร์ประ ชาสัมพันธ์ของโครงการไว้ทั้งหมด เผื่อในอนาคต หากโครงการผิดสัญญา ไม่ทำตามที่ได้โฆษณาไว้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องโครงการได้ 5. ความน่าเชื่อถือของโครงการ ผู้ประกอบการมีความมั่นคง และมีประวัติการประกอบกิจการ ที่ดีหรือไม่ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล หากเป็นนิติบุคคล มีบุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทน โดยสามารถตรวจสอบได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด 6. ตรวจสอบดูว่า อาคารดังกล่าวจะเริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จเมื่อใด 7. ผู้ประกอบการใช้สัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดหรือ (อ.ช.๒๒) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดแบบสัญญาจะซื้อจะขายและสัญญาซื้อขายห้องชุดตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ หรือไม่ 8. ควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นอกเหนือจากราคาของห้องชุด ซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดต้องร่วมกัน ออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าบริการที่เป็นส่วนรวม ค่าดูแลรักษาและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นต้น โดยสอบถามได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด 9. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ประกอบด้วยอะไรบ้าง กรณีอาคารชุดที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีข้อแนะนำที่ควรรู้ ดังต่อไปนี้ 1. มีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้วหรือไม่ บุคคลใดเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ขอตรวจสอบได้ จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด หากไม่แน่ใจ สามารถตรวจสอบได้จากสำนักงานที่ดินจังหวัดท้องที่ 2. ควรตรวจสอบ เลขที่โฉนด จำนวนเนื้อที่ที่ดินของโครงการ แผนผังแสดงเขตที่ดิน ที่ตั้งอาคารชุด และทางเข้าออกของอาคารชุด ตรวจสอบได้จากสำนักงานที่ ดินจังหวัดท้องที่ 3. ความน่าเชื่อถือของโครงการ ผู้ประกอบการมีความมั่นคงและมีประวัติการประกอบกิจการที่ดี หรือไม่ เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหากเป็นนิติบุคคล มี บุคคลใดเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนโดยสามารถ ตรวจสอบได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด 4. ตรวจสอบรายการทรัพย์ส่วนบุคคล และทรัพย์ส่วนกลาง ว่าตรงกับที่ได้โฆษณาไว้หรือไม่ ตรวจสอบได้จากอาคารที่ตั้งโครงการและผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุดนั้น ๆ 5. ควรตรวจสอบค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เจ้าของห้องชุดต้องชำระ นอกเหนือจากราคาค่าห้องชุด ซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายส่วนก ลาง เงินกองทุน เป็นต้น สามารถ ตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด 6. ตรวจสอบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดดังกล่าวก่อนว่า จะยอมรับเงื่อนไขตามข้อบังคับได้ หรือไม่ ทั้งนี้ ผู้ซื้อควรเก็บเอกสารการโฆษณาหรือโบรชัวร์ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อห้องชุดไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี กรณีที่ผู้ประกอบการทำไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ตรงกับที่ได้ โฆษณาไว้ เนื่องจากกฎหมายถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขาย ส่วนการซื้อห้องชุดมือสองต่อจากบุคคลอื่น มีคำแนะนำก่อนตัดสินใจซื้อ ดังนี้ 1. ตรวจสอบหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ทำเลที่ตั้งของอาคารชุด และสภาพของห้องชุด ว่าพร้อมอยู่ อาศัยหรือไม่ 2. ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดมีอะไรบ้าง มีสภาพอย่างไร เช่น ที่จอดรถ สระว่ายน้ำ ห้องออกกำลังกาย เป็นต้น 3. การบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างไร ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางเท่าไร เรียกเก็บ อย่างไร และการดำเนินการของผู้จัดการ และคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีประสิทธิภาพหรือไม่ 4. ในการโอนกรรมสิทธิ์ในห้องชุด พนักงานเจ้าหน้าที่จะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมได้เมื่อห้องชุด ดังกล่าวปลอดจากหนี้ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง โดยต้องมีหนังสือรับรองการปลอดหนี้ฉบับปัจจุบันของนิติบุคคล อาคารชุดมาแสดงด้วย บทความที่เกี่ยวข้อง การมอบอำนาจ การจดจำนอง-vs-การรับขายฝาก-แตกต่างกันอย่างไร แนะนำขั้นตอนการจดทะเบียน-จำนอง-ขายฝาก-มรดก ข้อดีของการขายฝากที่ดิน-ของผู้ขายฝากและนักลงทุน ขายฝากคืออะไร โฉนดที่ดินคืออะไร เอกสารสิทธิเกี่ยวกับ "ที่ดิน" มีอะไรบ้าง ที่สาธารณะประโยชน์ หมายถึงอะไร การรับมรดกที่ดิน-จดทะเบียนผู้จัดการมรดก การขอหนังสือรับรองราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- #รับจำนอง #รับขายฝาก #ไถ่ถอน #จำนองที่ดิน #จำนองบ้าน #จำนองโรงแรม #จำนองคอนโด #จำนองโรงงาน #จำนองห้องชุด #ขายฝากที่ดิน #ขายฝากบ้าน #ขายฝากโรงแรม #ขายฝากคอนโด #ขายฝากโรงงาน #ขายฝากห้องชุด #ดอกเบี้ยต่ำ #ให้ยอดสูง #SUBDPROPERTY #ทรัพย์ดีพร๊อพเพอร์ตี้