top of page
รูปภาพนักเขียนiamsamang thanya

ข้อดีของการขายฝากที่ดิน ของผู้ขายฝากและนักลงทุน

อัปเดตเมื่อ 9 พ.ค. 2566

จากหลายๆบทความทำให้เราเข้าใจกันดีแล้วว่า ขายฝากคืออะไร ในวันนี้เราจะมาพูดสรุปถึงข้อดีของการขายฝากกัน ทั้งของผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก


ข้อดีของการขายฝากฝั่งผู้ขายฝาก (ผู้กู้)

  • การทำสัญญาขายฝากที่ดิน ไม่จำเป็นต้องเช็คประวัติแบล็คลิสต์ หรือเครติดบูโรของผู้กู้

  • ไม่ต้องมีคนค้ำประกัน, ไม่ดูการเดินบัญชี statement ของธนาคาร

  • อนุมัติเร็ว ได้เงินไว เร็วกว่าการขอสินเชื่อกับธนาคารต่างๆ

  • การขายฝากมีความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ว่าจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเพราะมีการทำสัญญา ณ กรมที่ดินระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก

  • การขายฝากส่วนมากนั้นผู้ให้กู้จะให้วงเงินสูงกว่าการกู้รูปแบบอื่น ซึ่งผู้ให้กู้บางรายอาจให้มากถึง 60-70% ของราคาประเมิน

  • การขายฝากมีระยะเวลาในการไถ่ถอนที่ยืดหยุ่น โดยผู้ทำการขายฝากสามารถยืดระยะเวลาในการไถ่ถอนได้ แต่ต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ สมมุติถ้าตกลงกับเจ้าหนี้ไว้ว่าจะมาไถ่ทรัพย์คืนภายใน 1 ปี หากถึงเวลาแล้วยังไม่พร้อมก็สามารถยืดเวลาออกไปได้ ทั้งนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ซื้อฝากและต้องไม่เกินที่กฎหมายกำหนด

  • ผู้ขายฝากยังคงได้ครอบครองที่ดิน และใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าพ้นกำหนดไถ่ถอน

ข้อดีของการขายฝากฝั่งผู้รับซื้อฝาก (นักลงทุน)

  • ได้ผลตอบแทนสูง และกำไรส่วนต่างจากการขายทรัพย์ (กรณีทรัพย์หลุดไถ่ถอน)

  • ความเสี่ยงต่ำเพราะมีหลักประกัน ไม่ต้องฟ้องร้องเพื่อยึดทรัพย์

  • ธุรกรรมทำง่าย และปลอดภัย เพราะต้องจดทะเบียนที่กรมที่ดิน

  • เป็นช่องทางการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาถูก

  • ถูกต้องตามกฎหมาย

แต่สิ่งสำคัญในกระบวนการขายฝากที่ดินก็คือเรื่องของการทำ สัญญาขายฝาก ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดิน และพนักงานเจ้าหน้าที่จะระบุไว้ในสารบัญสำหรับจดทะเบียนว่า เป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย

จากข้อดีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าการขายฝากนั้นมีข้อดีที่ความสะดวก รวดเร็ว และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการ ถึงแม้จะมีอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคารเล็กน้อย แต่สามารถรับเงินได้เร็วกว่าและอนุมัติการกู้เงินได้โดยไม่ต้องดู STATEMENT การเดินบัญชี รวมทั้งคนที่ติดแบล็คลิสต์หรือเครดิตบูโรก็สามารถที่จะขอยื่นกู้ได้ เพราะเนื่องจากผู้รับซื้อฝากจะดูที่ทรัพย์หรือโฉนดเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันฝั่งผู้ซื้อฝากก็ได้รับผลประโยชน์จากผลตอบแทนที่มากกว่าและมีความเสี่ยงต่ำกว่าการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ


ข้อมูลอ้างอิง: dol.go.th


บทความที่เกี่ยวข้อง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

תגובות


bottom of page