top of page
รูปภาพนักเขียนiamsamang thanya

การจดจำนอง VS การรับขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร?

อัปเดตเมื่อ 9 พ.ค. 2566



การนำทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อแลกกับเงินก้อน คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเป็นการทำนิติกรรมในรูปแบบของการรับจดจำนอง ขายฝาก เพราะดูเหมือนว่านิติกรรมทั้งจำนอง ขายฝากนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน จนคนส่วนใหญ่แยกไม่ออก และทำให้เกิดความสับสน

สำหรับบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับความแตกต่างระหว่างนิติกรรมจำนอง ขายฝาก ที่มักจะพบเห็นได้ในการขอสินเชื่อหรือกู้ยืมเงินโดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักประกัน ถึงแม้จะดูคล้ายกันในสายตาคนทั่วไป แต่ที่จริงแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิงในทางกฎหมาย

การจดจำนองคืออะไร?

การจำนอง คือ การทำนิติกรรมรูปแบบหนึ่งที่นำทรัพย์สินมาเป็นประกันการชำระหนี้ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำมารับจดจำนอง ขายฝากเป็นได้ทั้งทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น โดยในการจำนองทรัพย์สินทุกประเภทจะต้องนำสัญญาจำนองไปจดทะเบียนด้วย ซึ่งในกรณีทรัพย์สินที่จำนองเป็นอสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจ และในกรณีสังหาริมทรัพย์ ให้จดทะเบียน ณ สำนักทะเบียน ซึ่งรับผิดชอบงานจดทะเบียนสังหาริมทรัพย์ชนิดนั้น ๆ ทั้งนี้ ผู้จำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนองและยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่จำนอง จึงมีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่จำนองต่อไปได้ แต่หากมีการผิดนัดชำระหนี้ที่มีการจำนองเป็นประกันแล้ว ผู้รับจดจำนอง ขายฝากมีสิทธิ์ฟ้องบังคับชำระหนี้และบังคับคดีกับทรัพย์สินที่จำนองได้ตามกฎหมาย

  • ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่รับจดจำนอง

ทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนอง เป็นได้ทั้งทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือ ทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนเฉพาะที่กฎหมายกำหนดให้นำมาจำนองได้ เช่น รถยนต์ หรือ เครื่องจักร เป็นต้น

  • ลักษณะสัญญาการจำนอง

ผู้จำนองไม่ต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือผู้รับจดจำนอง

  • กรณีทำผิดสัญญาจำนอง

หากครบสัญญาแล้ว ผู้จดจำนอง สามารถจ่ายดอกเบี้ยเพื่อขอต่อเวลาได้อีกไม่เกิน 5 ปี หรือผู้รับจดจำนอง จะฟ้องศาลเพื่อบังคับคดี แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งระหว่างที่ดำเนินการฟ้องร้อง ทรัพย์สินนั้นจะไม่สามารถนำมาขายได้

  • ค่าจดทะเบียนจำนอง

เสียค่าธรรมเนียมอัตรา 1% จากวงเงินที่นำมาจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

  • วงเงินในการอนุมัติการจำนอง

จะได้วงเงินต่ำกว่าการขายฝาก ส่วนอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับอัตราของแต่ละสถาบัน

ขายฝากคืออะไร

การขายฝาก คือ การทำนิติกรรมในรูปแบบของการขายทรัพย์สิน ทั้งที่เป็นทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น ให้กับผู้รับซื้อฝาก โดยการทำสัญญาเอกสารขายฝากและมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกัน

ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ขายฝากและได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากสามารถขยายเวลาขายฝากกับผู้ซื้อฝากกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม ในกรณีทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ คู่สัญญาจะต้องนำสัญญาขายฝากไปจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินที่มีเขตอำนาจก่อน การขายฝากจึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้ หากผู้ขายฝากไม่ได้ไถ่ทรัพย์สินคืนตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่ตกลงกันดังกล่าว ผู้ขายฝากจะหมดสิทธิ์ไถ่ทรัพย์สินคืน โดยผู้รับซื้อฝากไม่ต้องไปใช้สิทธิ์ฟ้องบังคับคดีตามสัญญาขายฝากอีก

  • ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่รับขายฝาก

ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน หรือทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ เช่น รถยนต์ เป็นต้น

  • ลักษณะสัญญาการขายฝาก

ผู้ขายฝากต้องโอนทรัพย์สินไปอยู่ในมือผู้รับซื้อฝาก

  • กรณีทำผิดสัญญาขายฝาก

ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ถอนสินทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา หากเลยกำหนดเวลาสามารถขยายเวลาขายฝากกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี ตามกฎหมาย สำหรับอสังหาริมทรัพย์ และไม่เกิน 3 ปี สำหรับสังหาริมทรัพย์ แต่หากไม่มีการขอต่อสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับขายฝากทันที

  • ค่าจดทะเบียนขายฝาก

เสียค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมิน และต้องชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด

  • วงเงินในการอนุมัติการขายฝาก

จะได้วงเงินสูงกว่าการจำนอง และดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีตามที่กฎหมายกำหนด


ข้อแตกต่างระหว่างรับจดจำนองและรับขายฝาก

สำหรับผู้ที่กำลังมองหาบริการรับจำนอง ขายฝาก บ้าน บริการรับจำนอง ขายฝาก ที่ดิน บริการรับจำนอง ขายฝาก คอนโด หรือบริการรับจำนองขายฝาก บ้าน และ ที่ดิน ควรศึกษาความแตกต่างระหว่างการจำนอง ขายฝากก่อนตัดสินใจ ดังนี้



บทความข้างต้นนี้ คงจะทำให้ท่านได้เห็น ข้อแตกต่างระหว่างการจำนอง ขายฝากไปแล้ว ต่อไปนี้ใครที่มีความจำเป็นต้องทำนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบทั้งบริการรับจำนอง ขายฝาก บ้าน บริการรับจำนอง ขายฝาก ที่ดิน บริการรับจำนอง ขายฝาก คอนโด หรือบริการรับจำนองขายฝาก บ้าน และ ที่ดิน ก็คงสามารถพิจารณาจุดเด่น จุดด้อย และเลือกใช้บริการรับจดจำนอง ขายฝากได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ควรเลือกนายทุนหรือบริษัทที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพื่อป้องกันสิทธิประโยชน์ของตนเองอีกด้วย


ปรึกษากับทีมงานมืออาชีพได้ที่ SUBD PROPERTY (ทรัพย์ดี พร๊อพเพอร์ตี้) แหล่งเงินทุน

เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินทุน ถูกต้องตามกฎหมาย อนุมัติไว ให้ยอดสูง ดอกเบี้ยต่ำ




บทความที่เกี่ยวข้อง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดู 6 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page